กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนของกระทรวงสาธารณสุข
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการร้องเรียนของกระทรวงสาธารณสุข
๑. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑ (กรณีข้าราชการพลเรือนสามัญ)
๒. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ.๒๕๓๗ (กรณีลูกจ้างประจำ)
๓. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ.๒๕๔๗ (กรณีพนักงานราชการ)
๔. พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๕๗ เป็นเรื่องเกี่ยวกับหน่วยบริการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน มาตรา ๕๙ เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้รับบริการไม่ได้รับความสะดวกตามสมควร ไม่ได้รับบริการตามสิทธิที่กำหนด ถูกเก็บเรียกเงินโดยไม่มีสิทธิจะเรียกเก็บ ถูกเก็บเรียกเงินเกินกว่าอัตราที่กำหนด หรือไม่ได้รับค่าเสียหายจากการรักษาภายในเวลาอันสมควร
๕. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
๖. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.๒๕๓๔ แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๐
๗. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙
๘. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
๙. ประมวลกฎหมายอาญา
๑๐. หลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการร้องเรียนกล่าวโทษข้าราชการและสอบสวนเรื่องราวร้องเรียนกล่าวโทษข้าราชการว่ากระทำผิดทางวินัย
กระบวนการสานเสวนา
กระบวนการสานเสวนา
การสานเสวนา (dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสนทนา ที่มุ่งให้เกิดความเข้าใจ ทั้งมุมมองของตนและของผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น โดยรากศัพท์แล้ว dia แปลว่าผ่าน logos แปลว่าคำหรือความหมาย เมื่อรวมกันได้เป็นคำว่า dialogue ซึ่งหมายถึงกระบวนการทำให้เกิดความหมาย ที่ไหลลื่นผ่านไปในหมู่ ผู้สนทนา เมื่อแปลเป็นไทยว่าสานเสวนา ซึ่งหมายถึงการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ (เสวนา) ที่มุ่งสานความหมายและความเข้าใจ โดยยอมรับความแตกต่างของจุดยืน ความคิด และอัตลักษณ์ของผู้สนทนา
เพื่อให้การสานเสวนาเป็นการสนทนาที่สานความเข้าใจ ผู้พูดจะต้องพูดอย่างมีสติ พูดอย่างเปิดใจ พูดถึงความคิดความเชื่อของเราโดยไม่อนุมานความคิดความเชื่อของผู้อื่นเพื่อมาวิเคราะห์ ตีความ หรือตัดสิน ส่วนจะเรียงลำดับความอย่างไรก็ได้ แต่กระนั้นก็มีวิธีเรียงลำดับความแบบหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้คือ เริ่มพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสังเกตเห็นของเรา โดยไม่ตัดสินหรือตีความหมายสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น แล้วจึงแสดงความรู้สึกของเราที่มีต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น โดยไม่ต่อว่าหรือแสดงออกเชิงตำหนิหรือกล่าวโทษใคร ขั้นตอนต่อไปคือการบอกความต้องการ (need) หรือเป้าหมายของเรา สุดท้ายจึงกล่าวคำขอ (ไม่ใช่คำสั่ง) ที่ขอให้ผู้อื่นกระทำเพื่อสนองความต้องการของเรานั้น การพูดจะต้องไม่เป็นการโจมตีผู้อื่น ไม่กล่าวโทษว่าผู้อื่นมีเจตนาร้าย หรือมีจุดหมายซ่อนเร้น หรือมีอุปนิสัยที่ไม่ดีต่าง ๆ นานา
มาตรฐาน 5 ส สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
มาตรฐาน ๕ ส สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
มาตรฐานโต๊ะทำงาน
ลำดับ |
รายการ |
เกณฑ์มาตรฐาน |
๑. |
โต๊ะทำงาน/ลิ้นชักโต๊ะทำงาน
|
๑.๑ สะอาด จัดวางของใช้อย่างเป็นระเบียบตามมาตรฐานที่กำหนด ได้แก่ ๑. ปากกา/ดินสอ รวมกันไม่เกิน ๖ ด้าม ๒. ปากกาสะท้อนแสง (สีต่างกัน) ไม่เกิน ๓ ด้าม ๓. ยางลบดินสอ ยางลบหมึก น้ำยาลบคำผิด แถบลบคำผิด อย่างละ ไม่เกิน ๑ อัน ๔. ไม้บรรทัด ๑ อัน ๕. ที่เย็บกระดาษ/ที่ถอดลวดเย็บกระดาษ อย่างละไม่เกิน ๑ อัน ๖. ลวดเสียบกระดาษ ๑ กล่อง ๗. คลิบหนีบกระดาษ ขนาดละไม่เกิน ๑ กล่อง ๘. กรรไกร ๑ อัน ๙. คัตเตอร์ ๑ อัน ๑๐.ที่เจาะกระดาษ ๑ อัน ๑๑.เครื่องคิดเลข ๑ เครื่อง ๑๒.แท่นเทปใส ๑ แท่น ๑๓.เครื่องเหลาดินสอ ๑ เครื่อง ๑๔.ปฏิทินตั้งโต๊ะ ๑ อัน ๑๕.แจกัน/ต้นไม้ รวมกันไม่เกิน ๑ หน่วย ๑๖.วัตถุมงคล/ของประดับ รวมกันไม่เกิน ๑ หน่วย ๑๗.สมุดใส่นามบัตร/กล่องใส่นามบัตร อย่างละ ๑ หน่วย ๑๘.แก้วน้ำ/ถ้วยกาแฟ อย่างละ ๑ ใบ ๑๙.กล่องใส่กระดาษทิชชู ๑ กล่อง ๒๐.กระเป๋าหิ้ว/กระเป๋าใส่เอกสารส่วนตัว (หลังเลิกงานต้องนำกลับ) อย่างละ ๑ ใบ ๒๑.โทรศัพท์ ๑ เครื่อง ๑.๒ ลิ้นชักบนใส่เฉพาะอุปกรณ์สำนักงาน ทำป้ายคำว่า“อุปกรณ์สำนักงาน” ติดไว้ ส่วนลิ้นชักล่าง ใส่เฉพาะของใช้ส่วนตัว ทำป้ายคำว่า “ของใช้ส่วนตัว” ติดไว้ ๑.๓ ติดป้ายชื่อ-สกุล ตำแหน่งไว้ที่โต๊ะทำงาน บริเวณที่เห็นชัดเจน ๑.๔ หลังเลิกงาน ต้องเก็บสิ่งของบนโต๊ะให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ๑.๕ ไม่มีสิ่งของวางใต้โต๊ะทำงาน ยกเว้น รองเท้า ๑ คู่ และถังขยะ ๑ ใบ
|
๒. |
เก้าอี้ทำงาน |
๒.๑ เลื่อนเก็บเก้าอี้ให้เรียบร้อยทุกครั้งหลังการใช้งาน ๒.๒ ไม่พาดเสื้อไว้ที่พนักเก้าอี้ ๒.๓ ไม่มีสิ่งของทุกชนิดบนเก้าอี้ ยกเว้นหมอนรองนั่งและหมอนพิงหลัง ๒.๔ ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ๒.๕ ซ่อมแซมเมื่อมีการชำรุด
|