แนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพของส่วนราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
แนวทางปฏิบัติสำหรับการดำเนินโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพของส่วนราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข คลิก!!
รูปแบบการนิเทศ กำกับ ติดตามการพัฒนางานระบบบริการปฐมภูมิและสุขภาพอำเภอด้วยกระบวนการ APPRECIATION INQUIRY
รูปแบบการนิเทศ กำกับ ติดตามการพัฒนางานระบบบริการปฐมภูมิและสุขภาพอำเภอด้วยกระบวนการ APPRECIATION INQUIRY คลิก
สถานการณ์การดำเนินงานนิติเวช
ส่วนที่ 1
สถานการณ์การดำเนินงานนิติเวช
ด้านการชันสูตรพลิกศพ
บทสรุปผู้บริหาร
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดให้กระทรวงสาธารณสุขมีการดำเนินงานนิติเวช ในโรงพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักบริหารการสาธารณสุขจึงได้สรุปผลการดำเนินงาน การชันสูตรพลิกศพ ในปีงบประมาณ 2553-2554 โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
แผนการจัดระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)
แผนการจัดระบบบริการสุขภาพ (Service Plan)
ความเป็นมา
กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่รับผิดชอบดูแลสุขภาพของประชาชนโดยการจัดระบบสุขภาพที่ครอบคลุม
ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสภาพ มีการจัดระบบบริการสุขภาพออกเป็นหลายระดับได้แก่ บริการระดับปฐมภูมิ (Primary Care) บริการระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) และบริการระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) โดยมุ่งหวังให้บริการแต่ละระดับมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันและเชื่อมต่อกันด้วยระบบส่งต่อ(Referral System) เพื่อให้สามารถจัดบริการคุณภาพที่มีคุณภาพ จากการดำเนินการระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้ระบบการเงินมีผลต่อการจัดระบบบริการโดยไม่คำนึงถึงความสอดคล้องกับทรัพยากรอื่น อีกทั้งข้อจำกัดทางการเงิน และการถ่ายโอนกองโรงพยาบาลภูมิภาคและกองสาธารณสุขภูมิภาค ไปจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีผลกระทบกับการเชื่อมโยงหน่วยงานระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค กระทรวงสาธารณสุข ไม่สามารถดำเนินบทบาทสนับสนุนที่มีประสิทธิภาพ ขาดความชัดเจนในการกำหนดนโยบายและแผนงาน การกำกับ สนับสนุน หน่วยบริการที่เป็นแผนแม่บททั้งอัตรากำลังและโครงสร้างพื้นฐาน ขาดหน่วยงาน และระบบงานที่เฝ้าระวังและแก้ปัญหาระบบบริการสุขภาพที่ชัดเจน ระบบบริการมีความอ่อนแอและปรับเปลี่ยนไป ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การฟ้องร้องของผู้รับบริการต่อผู้ให้บริการ ผู้สูงอายุมากขึ้นอย่างรวดเร็ว โรคบางโรคเพิ่มขึ้นมาก เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ ไตวายและอื่นๆ อีกทั้งบรรยากาศของโรงพยาบาลขนาดเล็ก ไม่เอื้อต่อการคงอยู่ของแพทย์ในด้านบริการ วิชาการและบริหาร สิ่งเหล่านี้ทำให้การจัดระบบบริการมีความยุ่งยาก ดังนั้นการที่สำนักบริหารการสาธารณสุข กลับมาสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นโอกาสที่จะได้ทบทวนแนวทางการพัฒนาหน่วยบริการให้มีทิศทางที่ชัดเจนและเป็นระบบ
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างงบลงทุน 13 ขั้นตอน (E-Auction)
Knowledge Management ของกลุ่มงานทรัพยากรสาธารณสุข (KM)
เรื่อง กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างงบลงทุน 13 ขั้นตอน (E-Auction)
การจัดซื้อจัดจ้างงบลงทุน เป็นกระบวนการหนึ่งในการบริหารจัดการงบลงทุน ซึ่งหมายถึงการจัดทำแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างงบประมาณงบลงทุน ที่จัดสรรให้กับหน่วยงานในส่วนภูมิภาค โดยมีการแจ้งจัดสรรให้กับหน่วยงานในส่วนภูมิภาค โดยมีการแจ้งจัดสรรรายการงบประมาณงบลงทุน การประชุมชี้แจงแนวทางการจัดซ้อจัดจ้าง การจัดทำแผนการบริหารงบประมาณงบลงทุน และการเร่งรัดติดตามการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้ได้ลงนามในสัญญา ซึ่งประกอบไปด้วย กระบวนการ 13 ขั้นตอน
1. ขั้นตอนจัดทำร่าง TOR ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน
1.1 ตรวจสอบร่างเอกสารประกอบการจัดซื้อ/จัดจ้าง โดยกลุ่มกฎหมาย
และกลุ่มคลังและพัสดุ
1.2 รับแบบแปลน BOQ ราคากลาง และงวดงาน/งวดเงิน
1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา กำหนดราคากลาง
1.4 จัดทำราคากลาง/หัวหน้าส่วนราชการเห็นชอบราคากลาง
1.5 แต่งตั้งคณะกรรมการร่างขอบเขตของงาน (TOR)
1.6 ร่างขอบเขตของงาน (TOR) และร่างเอกสารประกวดราคา/เสนอหัวหน้าส่วน
ราชการให้ความเห็นชอบ
1.7 เผยแพร่ร่างขอบเขตของงาน (TOR) และร่างเอกสารประกอบ