"ตรวจสอบภายใน ให้อะไรมากกว่าที่ท่านคิด"
"ตรวจสอบภายใน ให้อะไรมากกว่าที่ท่านคิด"
การที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของส่วนราชการไม่ว่าจะเป็นส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคย่อมนำมาซึ่ง "ความภาคภูมิใจ" และ "ความหนักใจ" พร้อม ๆ กัน
"ความหนักใจ" ในที่นี่คือภารกิจที่ต้องกำกับดูแลและควบคุมงานทุกด้านให้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนด แต่ท่านไม่สามารถดูแลการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบได้อย่างทั่วถึงและใกล้ชิต ดังนั้น จึงต้องมี "ผู้ช่วย" ที่มีความสามารถในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานดำเนินไปตามแผนงานที่วางไว้หรือไม่ สามารถตรวจสอบว่ากฎเกณฑ์ ระเบียบ ข้อบังคับได้รับการปฏฺบัติตามหรือไม่ เพื่อให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการป้องกันความเสี่ยงที่อาจทำให้การปฏิบัติงาน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รวมทั้งสามารถตรวจสอบงานอื่น ๆ ที่ท่านให้ความสนใจเป็นพิเศษ "ผู้ช่วย" คนนั้นความจริงมีอยู่แล้วในส่วนราชการของท่าน ในตำแหน่ง "ผู้ตรวจสอบภายใน" นั่นเอง
ประโยชน์ของการตรวจสอบภายใน
การตรวจสอบภายใน เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ฝ่ายบริหาร และเป็นหลักประกัน ขององค์กรในด้านการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในที่เหมาะสม ทั้งในด้านการเงินและการบริหารงาน เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร โดยการเสนอรายงานเกี่ยวกับกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าขององค์กร รวมทั้งการเป็นผู้ให้คำปรึกษากับฝ่ายบริหารในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิผล และดูแลให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า ซึ่งการตรวจสอบภายในมีส่วนผลักดันความสำเร็จดังกล่าว ดังนี้
๑. ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำกับดูแลที่ดี (Good Corporate Governance) และความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน (Transparency) ป้องกันการประพฤติมิชอบหรือการทุจริต และเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์
๒. ส่งเสริมให้เกิดการบันทึกบัญชีและรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ(Accountability and Responsibility)
ทำให้องค์กรได้ข้อมูลหรือรายงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบ และเป็นพื้นฐานของหลักความโปร่งใส (Transparency)
และความสามารถตรวจสอบได้ (Auditability)